ภาพรวมหลัง กสทช.มีมติเสียงข้างมากรับทราบการควบรวม TRUE และ DTAC วงการเชื่อขยับขึ้นเบอร์หนึ่งของประเทศด้วยจำนวนผู้ให้บริการเว็บหวยออนไลน์ ถูกกฎหมาย และรายได้สูงสุด ต่างฝ่ายต่างเติมเต็มจุดอ่อนกันและกัน ส่วนมาตรการควบคุมจาก กสทช. ส่งผลกระทบเล็กน้อย ขณะต้นทุนจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญช่วยชดเชย และผลจากการควบรวมต้องใช้เวลาอีก 3 ปี โบรกฯ เชื่อตั้งบริษัทแล้วเสร็จภายในไตรมาสแรกปี 2566
เมื่อวันที่ 20 ต.ค.ที่ผ่านมา ถือเป็นอันได้ข้อชัดเจนที่มากขึ้นเสียทีสำหรับดีลการควบรวมกิจการของ 2 บิ๊กโอเปอเรเตอร์ขนาดใหญ่ของประเทศอย่าง บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น (TRUE) และ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (DTAC) ที่ยืดเยื้อมาตั้งแต่เดือน พ.ย.ปีที่ผ่านมา หลังการประชุมบอร์ดคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ใช้เวลาถกการประชุมลากยาวแบบมาราธอนถึง 11 ชั่วโมง ในที่สุดที่ประชุมมีมติเสียงข้างมากรับทราบดีลการควบรวมระหว่าง TRUE และ DTAC
โดยสิ่งที่น่าสนใจ และถือเป็นประเด็นนั่นคือ นอกจากที่ประชุมบอร์ด กสทช.จะรับทราบแผนการควบรวมกิจการแล้ว ที่ประชุม ยังกำหนดเงื่อนไข และมาตรการเฉพาะเรื่อง เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคและการพัฒนา กิจการโทรคมนาคม นั่นเพราะหลังจาก กสทช.ได้พิจารณาการรวมธุรกิจระหว่าง TRUE และ DTAC ว่า เนื่องจากเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและมีผลกระทบต่อสาธารณะ จึงใช้เวลาในการศึกษาข้อมูลทุกด้านอย่างละเอียดรอบคอบ โดยมีการหารือ รวมถึงแสดงความคิดเห็นในการพิจารณาร่วมกันในทุกๆ ด้าน ทำให้ต้องใช้เวลาในการประชุมร่วม 11 ชั่วโมง กว่าจะมีผลโหวตดังกล่าวออกมาจากที่ประชุมได้
ขณะที่ภาพรวมของตลาดโอเปอเรเตอร์ หรือผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือใน ประเทศไทยนับจากนี้ หากดีลดังกล่าวลุล่วงไปได้จริงตามแผนงานที่ผู้บริหารทั้ง 2 ฝ่ายวาดหวังไว้ คาดว่าจะส่งผลให้โอเปอเรเตอร์เจ้าตลาดเบอร์ 1 ของไทยอย่าง บมจ.บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC) หรือ AIS ต้องตกจากเก้าอี้ที่ถือครองมาอย่างยาวนานกลายเป็นเบอร์ 2 ของตลาด
โดยเฉพาะจำนวนผู้ใช้บริการของบริษัทใหม่ภายหลังจากการควบรวมกิจการระหว่าง TRUE และ DTAC จะถือครองจะมีจำนวนผู้ใช้งานรวมกันเพิ่มเป็น 51.85 ล้านเลขหมาย แบ่งเป็นของ TRUE 32.25 ล้านเลขหมาย และ DTAC 19.60 ล้านเลขหมาย ขณะที่ ADVANC มีจำนวนผู้ใช้บริการ 44.60 ล้านเลขหมาย
ถัดมาคือจำนวนรายได้ของทั้ง 2 บริษัทที่รวมกันแล้วคาดว่าจะสูงถึงประมาณ 2.28 แสนล้านบาท (รายได้รวมปี 2564 ของแต่ละบริษัท แบ่งเป็น TRUE อยู่ที่ 1.47 แสนล้านบาท ส่วน DTAC อยู่ที่ 8.14 หมื่นล้านบาท ขณะที่ ADVANC ในช่วงเวลาเดียวกัน มีรายได้อยู่ที่ 1.83 แสนล้านบาท
กสทช.ออกมาตรการควบคุมผลกระทบ
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมบอร์ด กสทช.ยังมีการพิจารณาข้อกังวล (Point of concern) 5 ข้อ และเห็นชอบเงื่อนไขหรือมาตรการเฉพาะด้านเพดานราคาของอัตราค่าบริการเฉลี่ย โดยให้อัตราค่าบริการเฉลี่ยลดลง 12% โดยใช้วิธีการเฉลี่ยราคาใหม่ด้วยการถ่วงน้ำหนักตามจำนวนผู้ใช้บริการในแต่ละราย การส่งเสริมการขาย (WEIGHTED AVERAGE) ภายใน 90 วันหลังจากมีการควบรวม พร้อมกำหนดราคาค่าบริการโดยใช้ราคาเฉลี่ยทางเศรษฐศาสตร์ ให้นำส่งข้อมูลตามประกาศ กสทช. ให้ครบถ้วน โดยให้แยกรายละเอียดเป็นรายเดือน และนำส่งสำนักงาน กสทช. ทุก 3 เดือน หรือเมื่อ กสทช. ร้องขอเพื่อใช้ตรวจสอบ
ขณะเดียวกัน จัดให้มีที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ เพื่อทำหน้าที่สอบทานความถูกต้องของข้อมูล ตรวจสอบโครงสร้างต้นทุน โครงสร้างอัตราค่าบริการ และนำมาคำนวณหาต้นทุนเฉลี่ย และต้นทุนส่วนเพิ่ม (MC) ที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบันของแต่ละราย บริการปีละ 4 ครั้ง (รายไตรมาส) โดยต้องจัดให้มีที่ปรึกษาเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 10 ปี หรือตลอดระยะเวลาอายุใบอนุญาตสิ้นสุดลง
นอกจากนี้ ยังต้องมีการกำหนดและแสดงอัตราค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แยกตามรายบริการ (Unbundle) โดยคิดราคาตามที่มีการใช้งานจริง โดยจะต้องไม่มีการกำหนดการซื้อบริการขั้นต่ำไว้ ซึ่งการกำหนดอัตราตามต้นทุนเฉลี่ยรายบริการ (Average Cost Pricing) ให้นำไปใช้กับกรณีค่าบริการ ส่วนเกินที่เกิดขึ้นจากการใช้บริการรายการส่งเสริมการขายแบบแยกรายบริการ (Unbundle Package) และการส่งเสริมการขายแบบรวมรายบริการ (Bundle Package) ด้วย
พร้อมกันนี้ ยังคงทางเลือกของผู้บริโภค การกำหนดให้บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (TUC) และบริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด (DTN) ยังคงแบรนด์การให้บริการแยกจากกันเป็นระยะเวลา 3 ปี โดยสำนักงาน กสทช. อาจกำหนดแนวทาง และระยะเวลาการดำเนินการ รวมถึงเงื่อนไขในการปฏิบัติในเรื่องการประชาสัมพันธ์ เพื่อให้บริษัท TUC และบริษัท DTN ดำเนินการต่อไป
ที่มาที่ไปแผนควบรวม
เรื่องทั้งหมดเกิดจากเครือเจริญโภคภัณฑ์ (เครือซีพี) และกลุ่มเทเลนอร์ ได้ประกาศการพิจารณาสร้างความร่วมมืออย่างเท่าเทียมกัน (Equal Partnership) โดยการสนับสนุนให้ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น (TRUE) และ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (DTAC) ตั้งเป้าปรับโครงสร้างธุรกิจสู่การเป็นบริษัทเทคโนโลยี (Technology Company) เมื่อ 20 พ.ย.2564 โดยการรายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า เทเลนอร์ จะถือหุ้น 27.3% ใน Mergeco และกลุ่มซีพีจะถือหุ้น 29%
สำหรับการควบรวมกิจการจะได้มีการจัดสรรหุ้นในบริษัทใหม่ที่เกิดจากการควบรวมให้แก่ผู้ถือหุ้นของ DTAC และผู้ถือหุ้น TRUE ในอัตราส่วน 1 หุ้นเดิมใน DTAC ต่อ 6.13444 หุ้นในบริษัทใหม่ และ 1 หุ้นเดิมใน TRUE ต่อ 0.60018 หุ้นในบริษัทใหม่ รวมถึงบริษัทใหม่จะมีทุนจดทะเบียนและทุนจดทะเบียนชำระแล้ว จำนวน 138,208,403,204 บาท แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญจำนวน 34,552,100,801 หุ้น พาร์หุ้นละ 4 บาท
2 บริษัทแจงประโยชน์จากควบรวม
ด้าน บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือ DTAC ได้ชี้แจงถึงประโยชน์ในการควบรวมกับ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น หรือ TRUE ว่า ประเทศไทยกำลังปรับตัวในช่วงเปลี่ยนผ่านภายใต้บริบทความผันผวนของระบบเศรษฐกิจโลกที่มีเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าเป็นตัวแปรสำคัญ เจตนารมณ์หลักของการรวมธุรกิจของ DTAC และ TRUE คือ การยกระดับและเพิ่มขีดความสามารถของโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลแบบก้าวกระโดด รวมถึงการกำหนดยุทธศาสตร์ให้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในการเข้าถึง และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเท่าเทียม เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0
ด้วยเหตุนี้จึงขอให้ กสทช. พิจารณาถึงความได้สัดส่วนระหว่างการคุ้มครองผู้บริโภคกับการพัฒนากิจการโทรคมนาคมตามหลักสากล รวมถึงให้ DTAC และ TRUE มีส่วนร่วมกับ กสทช. ในขั้นตอนการควบรวมกิจการ เพื่อให้มั่นใจว่าการควบรวมจะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้บริโภค
ทั้งนี้ หลักการสำคัญ 5 ข้อของบริษัทเทเลคอม-เทคโนโลยี เพื่อทุกคนคือ 1.บริษัทเทเลคอม-เทคโนโลยี จะให้บริการสู่ความเป็นเลิศด้านดาต้า ดังนั้นการควบรวม DTAC-TRUE สู่การเป็นบริษัทเทเลคอม-เทคโนโลยี ทำให้การแข่งขันในตลาดยังคงสูงอย่างต่อเนื่องดังนั้น การควบรวมกิจการจะนำมาสู่การแข่งขันที่เหมาะสมกันยิ่งขึ้นระหว่างบริษัทใหม่และผู้นำตลาด ซึ่งจะทำให้เกิดการแข่งขันยิ่งขึ้น เรื่องราคาค่าบริการและคุณภาพการบริการในการดึงดูดลูกค้า
2.บริษัทเทเลคอม-เทคโนโลยี จะมอบประสบการณ์เครือข่ายชั้นนำเพื่อคนไทย ซึ่งบริษัทเทเลคอม-เทคโนโลยีพร้อมยกระดับประสบการณ์ใช้งานมือถือและอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 5G และ 4G ให้ดีขึ้นกว่าเดิมทันที ด้วยการนำจุดแข็งของทั้ง DTAC-TRUE มาผนึกกำลังร่วมกัน สัญญาณครอบคลุมพื้นที่ใช้งาน (Coverage) มากยิ่งขึ้น ทำให้ประชากรไทยทุกคนเข้าถึงโอกาสอย่างเท่าเทียมกันรวมถึงการขยาย 5G ทั่วประเทศที่รวดเร็วครอบคลุมพื้นที่ยิ่งขึ้น
3.บริษัท เทเลคอม-เทคโนโลยี จะให้บริการดิจิทัลและประสบการณ์ที่เหนือกว่าการเชื่อมต่อ ดังนั้นด้วยขนาดองค์กรและความเชี่ยวชาญจะทำให้บริษัทเทเลคอม-เทคโนโลยีสามารถดึงดูดผู้ให้บริการเทคโนโลยี และผู้นำด้านดิจิทัลระดับโลกในฐานะพันธมิตร ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยสามารถเข้าถึงบริการล่าสุดได้ก่อนใคร
4.บริษัทเทเลคอม-เทคโนโลยี จะนำเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลกมาช่วยผลักดันธุรกิจ SME และธุรกิจขนาดใหญ่ในไทย โดยบริษัทใหม่และพันธมิตรจะระดมทุน 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 7.3 พันล้านบาท จัดตั้งกองทุน Venture Capital (VC) รวมทั้งจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมที่สนับสนุนผู้ประกอบการดิจิทัล เพื่อวางรากฐานสำหรับผลักดันสู่อนาคตของสตาร์ทอัปไทยในระดับยูนิคอร์น และกองทุน VC จะสร้างทักษะงานดิจิทัลใหม่ๆ นับพันตำแหน่ง เพื่อสร้างการเติบโต ทางเศรษฐกิจและการจ้างงานที่แข็งแกร่ง ซึ่งจะก่อประโยชน์อย่างมากต่อเศรษฐกิจ และการสร้างสิทธิบัตรใหม่ต่างๆ สำหรับประเทศไทย
รวมถึงกองทุน VC มีแผนสนับสนุนภาพรวมของระบบนิเวศสตาร์ทอัปไทย ซึ่งจะทำให้เกิดธุรกิจมูลค่าสูงสุดประมาณ 3 หมื่นล้านบาท (ประมาณ 900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ดังนั้น การควบรวมนอกจากจะผลักดันเศรษฐกิจไทยให้ก้าวหน้าแล้ว ยังเพิ่มมูลค่าให้ GDP ด้วย
5.บริษัทเทเลคอม-เทคโนโลยี จะรักษามาตรฐานสูงสุดในการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ และจะส่งเสริมแนวคิดการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน (ESG – Environmental, Social, Governance) โดยบริษัทใหม่จะยึดมั่นประโยชน์ของลูกค้าและสังคมไทยเป็นพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจ และมุ่งสร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ เพื่อขับเคลื่อนสังคมที่เท่าเทียมและสร้างการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมาย อันจะช่วยให้สามารถรับมือกับกระแสความเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมถึงสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน
คาดตั้งบริษัทใหม่แล้วเสร็จสิ้นปีนี้
สำหรับขั้นตอนถัดจากนี้ คาดว่าทั้ง 2 บริษัทจะต้องดำเนินการตามประกาศของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ในการจัดตั้งบริษัทฯ ขึ้นมาใหม่ โดยก่อนจัดตั้งบริษัทฯ ใหม่ต้องแจ้งให้คณะกรรมการบริษัทฯ รับทราบและมีมติเห็นชอบ จากนั้นรายงานผลสรุปกับผู้ถือหุ้น และเมื่อผู้ถือหุ้นทั้ง 2 ฝ่าย คือ TRUE และ DTAC เห็นชอบควบรวมกิจการ จะยื่นเรื่องไปยังกระทรวงพาณิชย์ เพื่อขอจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทใหม่ จากนั้นยื่นความจำนงควบรวมกิจการไปยัง ตลท.คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2565 ทั้งนี้ มีข่าวลือว่าหลังจาก TRUE และ DTAC ควบรวมกิจการจะมีการใช้ชื่อใหม่ว่า “TRUE-D”
ส่วนขั้นตอนถัดมา คือ การควบรวมบริษัทลูกที่ได้รับใบอนุญาตคลื่นความถี่จาก กสทช. คือ บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด หรือ TUC ในเครือ TRUE กับ บริษัท ดีแทค ไตรเน็ท จำกัด หรือ DTN อย่างไรก็ตาม บอร์ด กสทช. ไฟเขียวให้ควบรวมกิจการแต่เงื่อนไขหนึ่งในนั้นคือ แบรนด์ในการทำตลาดทั้ง “TRUE” และ “DTAC” ต้องคงแบรนด์ไว้ภายใน 3 ปี โดยปัจจุบัน ณ ไตรมาส 2/2565 TRUE มีสินทรัพย์ทั้งสิ้น 615,637.66 ล้านบาท และ DTAC มีสินทรัพย์ทั้งสิ้น 159,759.91 ล้านบาท
หาก Q1 ควบรวมไม่ได้อาจเกิดปัญหา
บล.เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) ประเมินแนวโน้มธุรกิจ TRUE โดยให้น้ำหนักท่ามกลางรายงานผลขาดทุนสุทธิหลักไตรมาส 3 ปี 2565 สูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 3.1 พันล้านบาท (จากขาดทุน 2.4 พันล้านบาท ในไตรมาส 2 ปี 2565) จากรายได้ที่ลดลง (เงินเฟ้อสูง และการแข่งขันที่รุนแรง) และค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น และสิ่งที่น่าสนใจคือหาก TRUE และ DTAC ไม่สามารถควบรวมกิจการได้ภายในไตรมาส 1 ปี 2566 หนี้ที่สูงและกระแสเงินสดอิสระติดลบ อาจบีบให้ TRUE ต้องขายหุ้น DIF เพื่อเพิ่มกระแสเงินสดอีกครั้ง
คาดแรงคัดค้านดีลไม่ล้ม
บล.ทิสโก้ ประเมินว่า จะมีการควบรวมกิจการภายในมกราคม 2566 แม้ว่า กสทช. จะชะลอการอนุมัติไป 2-3 ครั้ง แต่เชื่อว่ายังคงยึดตามไทม์ไลน์การควบรวมกิจการในเดือนมกราคมปีหน้า โดยเห็นว่ามีกลุ่มคุ้มครองผู้บริโภคหลายกลุ่มอาจพยายามฟ้อง กสทช. แต่คิดว่าความเสี่ยงที่พวกเขาจะสามารถทำลายข้อตกลงนั้นค่อนข้างต่ำ
มาตรการ กสทช. กระทบเล็กน้อย
บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) แม้ กสทช.จะมีมาตรการออกมาควบคุมการควบรวมกิจการ TRUE และ DTAC แต่มาตรการส่วนใหญ่ไม่ได้กระทบกับ Synergy ด้านการลดต้นทุน อย่างมีนัยสำคัญและไม่รุนแรงเท่าที่ตลาดคาดไว้ก่อนหน้า แต่ต้องระวังแรงต่อต้านจากผู้ไม่เห็นด้วย เป็นความเสี่ยงที่อาจชะลอ Timeline ของดีล จึงคงคำแนะนำซื้อ DTAC (TP@THB55.75) ซื้อ TRUE(TP@THB6.00) และซื้อ ADVANC (TP @THB240.00) ส่วนเชิงกลยุทธ์ ระยะสั้น TRUE และ DTAC ควรซื้อขายสูงกว่า Tender Offer จากตลาดจะเริ่มประเมิน Synergy ลงไปในราคาหุ้น ณ ราคาปัจจุบันเราชอบทั้งคู่ แต่ชอบ DTAC มากกว่าเพราะราคายังต่ำกว่า Tender Offer
บล.กรุงศรี แนะนำถือหุ้น TRUE ราคาเป้าหมาย 5 บาท/หุ้น เนื่องจากราคาหุ้นวิ่งขึ้นมาแรงในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา และตอนนี้ใกล้กับราคาเป้าหมาย และราคา tender offer แล้ว ซึ่งสะท้อนถึงความคาดหวังว่าดีลควบรวมของ TRUE-DTAC จะเดินหน้าได้ ดังนั้น ระยะสั้นคาดว่า TRUE จะขาดทุน 2.8 พันล้านบาทในไตรมาส 3 ซึ่งจะเป็นไตรมาสที่แย่ที่สุด แต่คาดว่าผลการดำเนินงานในไตรมาสสุดท้ายจะดีขึ้นอย่างมากเนื่องจากรายได้จะ เพิ่มขึ้น และต้นทุนจะลดลง เพราะคาดว่า TRUE-DTAC จะเดินหน้าควบรวมกัน และการแข่งขันจะเริ่มลดลงในปีหน้า จึงคงคำแนะนำถือเนื่องจากราคาหุ้นอยู่ใกล้ราคาเป้าหมายที่ 5.00 บาท
ควบรวมช่วยประสานจุดอ่อนจุดแข็ง
บล.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ประเมินว่าทั้ง DTAC และ TRUE ต่างมีจุดอ่อนและจุดแข็ง โดย DTAC มีจุดแข็งที่ผลการดำเนินงานมีกำไรมาโดยตลอด และมีประสิทธิภาพในการควบคุมต้นทุน และใช้จุดแข็งของเทเลนอร์ในการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อช่วยประหยัดต้นทุน แต่มีจุดอ่อน คือ การให้บริการไม่ครบวงจร ยังขาดบริการอินเทอร์เน็ตบ้าน และบริการอินเทอร์เน็ตทีวี รวมถึงยังขาดคลื่น Mid-Band มาตรฐาน 5G ที่มารองรับการให้บริการ 5G ในอนาคต
ดังนั้น การควบรวมกิจการทั้ง 2 บริษัทถือเป็นการนำจุดเด่นของทั้ง 2 บริษัท มาประสานกันได้ลงตัว ช่วยลดการแข่งขันที่รุนแรงในอนาคต จึงแนะนำเพียง ถือ ทั้ง DTAC และ TRUE
ส่วน บล.เอเซีย พลัส จำกัด (ASPS) ประเมินว่า จะเป็นบวกต่ออุตสาหกรรมการให้บริการมือถือ เพราะหลังการควบรวมจำนวนผู้เล่นหลักในตลาดผู้ให้บริการมือถือลดลงจาก 3 ราย เหลือ 2 ซึ่งจะทำให้การแข่งขันมีแนวโน้มจะลดความรุนแรงลงจากปัจจุบันได้
ขณะเดียวกัน จะเป็นบวกต่อ TRUE และ DTAC ในด้านของศักยภาพในการแข่งขันจากฐานลูกค้าที่จะเพิ่มขึ้นจากสิ้นงวดไตรมาส 2/65 ที่มีลูกค้าอยู่ 33.3 ล้านราย และ 20.3 ล้านราย ตามลำดับ เป็น 53.6 ล้านราย หรือมีส่วนแบ่งการตลาดฐานลูกค้าประมาณ 50% นอกจากนี้ ยังคาดหวังผลประกอบการที่ดีขึ้นจากต้นทุน และค่าใช้จ่ายที่จะลดลง ซึ่งเรื่องค่าบริการที่จะลดลงมองว่าน่าจะชดเชยได้ด้วยการประหยัดต่อขนาด (Economy of scales) ที่จะเกิดขึ้นหลังการควบรวม ขณะที่เรื่อง Cell site ก็เป็นส่วนหนึ่งของแนวทางที่จะลดต้นทุนได้
อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนต่อไปคือ TRUE และ DTAC จะมีการจัดทำคำเสนอซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นเดิมของ TRUE และ DTAC (ราคาเสนอซื้อที่ 5.09 บาท และ 47.76 บาท ตามลำดับ) และจัดประชุมผู้ถือหุ้นทั้ง TRUE และ DTAC เพื่อให้อนุมัติเกี่ยวกับบริษัทใหม่ที่จะเกิดจากการควบรวม จึงจะดำเนินการตั้งบริษัทใหม่ ซึ่งคาดจะเกิดได้ในปลายปีนี้ หรือต้น ม.ค.66 แนะนำ “ซื้อ” DTAC